ปาล์มบังสูรย์ เป็นปาล์มที่มีลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ ใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สวยงามเหมือนกับตัดแต่งขึ้นมา ในต่างประเทศเปรียบใบปาล์มนี้มีลักษระเป็นรูปเพชรตัด (Diamond Shape) หรือใบพาย (Paddle) มีพบมากในป่าบนเขาสูงต่อแดนไทย-มาเลเซีย คนพื้นเมืองเรียกปาล์มชนิดนี้ว่า “บูเก๊ะลีแป” โดยคำว่า บูเก๊ะ มาจาก บูกิต เป็นภาษามาลายู แปลว่า ภูเขา ส่วนคำว่าลีแป นั้นแปลว่า ตะขาบ ฉนั้นคำว่า บูเก๊ะลีแป จึงแปลว่า ตะขาบภูเขา เข้าใจว่าชาวบ้านคงเรียกชื่อจากช่อดอกของปาล์มชนิดนี้ ซึ่งดูคล้ายๆตะขาบ ภายหลังในปี พ.ศ.2517 อาจารย์ประชิด วามานนท์ ผู้รับหน้าที่จัดสวนและตกแต่งบริเวณพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เห็นว่าปาล์มชนิดนี้ใบมีรูปทรงเหมือนเครื่องสูง หรือเครื่องขัตติยราชประเพณี ซึ่งใช้บังแสงแดดในพิธีแห่ โดยเสด็จขบวนพระยุหยาตราที่เรียกว่า “บังสูรย์” (บังแสงแดด) จึงนำนามเครื่องสูงนี้มาตั้งชื่อปาล์มชนิดนี้ว่า “ปาล์มบังสูรย์”
ปาล์มบังสูรย์ต้องเลี้ยงในสแลน 80 %(แสงผ่านได้ 20 %)อยู่กลางแดดไม่ได้
ต้นปาล์มบังสูรย์อายุประมาณ 10 ปี
ต้นปาล์มบังสูรย์อายุประมาณ 10 ปีเช่นกัน
ปาล์มบังสูรย์ จัดอยู่ในสกุล Teysmannia ในสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด พบมากอยู่ในแหลมมาลายู คือภาคใต้ขอประเทศไทย เช่น จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา ประเทศมาเลเซีย สุมาตราเหนือ บอรืเนียว โดยแบ่งชนิดดังน
ี้
ชนิดที่ 1 เป็นปาล์มบังสูรย์ที่พบในจังหวัดนราธิวาส เป็นชนิดใบกว้างใหญ่ทรงข้าวหลามตัดสีเขียวทั้งบนใบและใต้ใบ ไม่มีลำต้น ไม่แตกหน่อ เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ก้านใบโผล่ จากพื้นดิน ยาวสุดประมาณ 3 ฟุต มีสีเขียวเหมือนใบ มีหนามเล็กๆสั้นๆ เรียงกันเป็นระเบียบตามความยาวของก้านใบทั้ง 2 ข้าง ก้านใบอวบแบนใหญ่จากโคนแล้วเรียวเล็กไปถึงโคนใบ ใบเป็น สีเขียวสดรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงสลับกันโดยรอบเป็นกอใหญ่ ใบกว้างประมาณ 3 ฟุต ยาวสุดประมาณ 6 ฟุต ปลายใบโค้งมนเล็กน้อย ตัวใบเป็นจับพับคล้ายผ้าอัดจีบละเอียดทอดยาวไปตามแนวใบทั้งสองข้างจะมีหน มเล็กๆละเอียดตลอดความยาวของใบ ใบจะโผล่จากกอประมาณ 6-10 ใบ/ปี ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศออกเป็นช่อสั้นๆยาวประมาณหกนิ้วโค้งลงบิดเบี้ยวเล็กน้อย ดูคล้ายตะขาย (ลีแป) ดอกออกระหว่างก้านใบ ดอกเล็กๆสีขาวครีม จั่นยาวประมาณสิบสองนิ้ว มีสีน้ำตาลอมแดง เมื่อผสมเกษรแล้วจะติดผลเป็นทะลายผลใหญ่เปลือกขรุขระคล้ายผลลิ้นจี่ เมล็ดภายในกลมเรียบแข็ง เปลือกบางสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดเกาลัด เรียกปาล์มชนิดนี้ว่า Teysmannia altifrons
ชนิดที่ 2 เป็นปาล์มบังสูรย์เหมือนชนิดที่ 1 แต่ต่างกันที่ใต้ใบมีสีเป็นสีเทาควันบุหรี่ หรือสีเงิน เมล็ดภายในกลมผิวไม่เรียบแบบชนิดที่ 1 ผิวเมล็ดเหมือนผิวลูกกอฟท์ ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า Grey teysmannia or Silver teysmannia ชนิดนี้หายากแต่พบได้ในประเทศมาเลเชียบ้างไม่มากนัก
ปาล์มบังสูรย์หลังขาว
ชนิดที่ 3 เป็นปาล์มบังสูรย์เหมือนชนิดที่ 1 แต่ต่างกันที่มีลำต้นดิ่งตรงสูงเหมือนต้นมะพร้าว แต่เล็กกว่าและเตี้นกว่า โดยสูงสุดประมาณ 10 ฟุต เรียกว่า Trunked tersmannia
ชนิดที่ 4 เป็นปาล์มบังสูรย์เหมือนชนิดที่ 1 แต่ใบมีความยาวมากก่วาความกว้าง เป็นชนิดที่หายาก คือใบกว้าง 1 ฟุตครึ่ง แต่ยาวถึง 8 ฟุต ใบมีสีเขียวสด เรียกว่า Lanceolate teysmannia
การขยายพันธุ์ เนื่องจากปาล์มบังสูรย์เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ไม่มีกิ่งก้าน แขนง ไม่แตกหน่อ จึงขยายพันธุ์ได้วิธีเดียวคือ การเพาะเมล็ด โดยคัดเมล็ดที่แก่จัด เปลือกเมล็ดเป็นสีน้ำตาลเรียบไม่แตก แช่ยากันเชื้อรานานประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาเพาะในวัสดุเพาะ โดยใช้ทรายอย่างเดียว หรือทรายผสมขี้เถ้าแกลบ หรือทรายผสมขุยมะพร้าว โดยใช้วัสดุเพาะหนาประมาณ 6 นิ้ว แล้วกลบเมล็ดพอมิดด้วยวัสดุเดียวกัน รดน้ำอย่าให้วัสดุแห้ง ใช้เวลา 60 วัน แล้วรื้อแปลงเพาะคัดเอาเฉพาะเมล็ดที่งอกแล้ว (ออกรากแล้ว) ไปชำในถุงหรือกระถางต่อไป ส่วนเมล็ดที่เหลือหากไม่เสียก็นำกลับไปเพาะไว้อีก โดยจะรื้อแปลงเพาะทุกๆ 30 วัน จนกว่าเมล็ดจะหมด
เมล็ดปาล์มบังสูรย์
เมล็ดปาล์มบังสูรย์ที่งอกแล้ว
การปลูกโดยนำเมล็ดที่งอกแล้ว ไปปลูกในกระถางหรือถุงดำขนาด 4″x10″ พับข้าง(หรือ 8″x10″) โดยใช้ดินปลูกประกอบด้วยหน้าดินส่วนหนึ่งผสมกับแกลบดิบหรือขุยมะพร้าว หรือทั้งสองอย่าง ในอัตราส่วน 1:1 เติมปุ๋ยคอกประมาณ 5-10 % โดยฝังรากของปาล์มลงในดินปลูกแล้วกลบเทล็ดพอมิดด้วยดินปลูกอีกทีหนึ่ง รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในร่มรำไร (มีแสงประมาณ 10-20%) รากก็จะเจริญลงไปในดินปลูกในระดับหนึ่งแล้วสร้างตายอดแทงขึ้นมาเป็นใบจาก ดินปลูก พร้อมกับแตกรากฝอยในที่ใต้จุดที่เกิดยอด โดยใช้เวลาในช่วงนี้ประมาณ 2-3 เดือน จึงจะเห็นใบโผล่ออกจากดินปลูก เลี้ยงไว้อายุ 1 ปีจะได้ต้นขนาด 2-3 ใบ ใบกว้าง 2-3 นิ้ว อายุ 2 ปีจะได้ต้นขนาด 5-6 ใบ ใบกว้าง 4-6 นิ้ว
การดูแลรักษา เนื่องจากปาล์มบังสูรย์เป็นไม้ในป่าเขาดิบชื้นและเป็นไม้ชั้นล่างใต้ต้นไม้ ใหญ่ จึงไม่ชอบแสงแดดจัด การปลูกเลี้ยงไว้ในที่กลางแจ้งจะทำให้ใบไหม้ตายได้ การปลูกเลี้ยงจึงต้องปลูกเลี้ยงในที่ที่แสงแดดส่องโดยตรงไม่ถึง เช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใต้ชายคาบ้าน หรือในบ้านที่มีแสงบ้าง หรือใต้ซาแลน(พลาสติกกรองแสง) หรือใต้นั่งร้านระแนงที่ก่อสร้างขึ้นมาให้มีแสงผ่านได้ 10-20 %(กรองแสง80%)
น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ โดยไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินปลูกแห้งแล้วค่อยรด ควรจะรดน้ำทุกวัน โดยรดน้อยแต่บ่อยครั้ง
ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยบ้างเป็นครั้งคราวโดยให้ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 1-2 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ให้คราวละน้อยๆตามแต่ควร เดือนละครั้ง จะทำให้ใบมีสีเขียวเข้มขึ้น
โรค สำหรับปาล์มบังสูรย์เรื่องโรคไม่ ค่อยมีปัญหามากนักอาจมีบ้างที่เกิดจากเชื้อรา บางชนิดที่ทำให้ใบเป็นด่างจุดสนิมสีน้ำตาล ทำให้ต้นลดความสวยงามลงไปได้มาก จึงควรฉีดพ่นด้วยยาป้องกันเชื้อราบ้างเป็นครั้งคราว
แมลง แมลงที่พบมากในปาล์มบังสูรย์ ได้แก่ตั้กแตนแมลงปีกแข็ง และหนอนหนังเหนียว จะกัดกินใบขณะใบยังอ่อนทำให้ใบเสียได้ นอกจากนี้ยังมีหนอนเจดีย์ จะเกาะอยู่ใต้ใบกินใบเป็นรู เป็นจุดเต็มทั้งใบได้ ทำให้ความสวยงามลดน้อยลงไปได้มาก ควรฉีดพ่นยาฆ่าแมลงบ้างเป็นครั้งคราวเมื่อพบเห็นแมลงระบาด
สวัสดีครับ
คุณ วาสนา ไม่มีครับ
ขอบคุณครับ
มีขายปาล์มพัดแคระมั๊ยคะ
มีต้นขายป่าวครับ
สวัสดีครับ
คุณ ธีรศิลป์ รบกวนติดต่อทาง Ib ไม่ก็ Add line มานะครับ
ช่องทางติดต่อสวน อีก 2 ช่องทางครับ
Line ID: @llw0167o (@เอลเอลดับพลิวศูนย์หนึ่งหกเจ็ดโอ)
Facebook inbox ได้ที่ https://www.facebook.com/messages/valentinepanmai/
ขอบคุณมากครับ
มีต้นปาล์มบังสูรย์ไหมครับ
มีเมล็ดปาล์มบังสูรย์ ปาล์มบังสูรย์หลังขาว หรือต้นกล้า หรือยังครับ