หมากแดง

หมากแดง เป็นปาล์มพื้นเมืองในป่าพรุของจังหวัดนราธิวาส มีสีสันสดใส งดงามสดุดตาผู้พบเห็น   เหมาะสำหรับประดับในอาคาร ในร่ม   หรือกลางแจ้ง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดพันธุ์ไม้ประดับในประเทศ   และยังเป็นที่นิยมในเขตร้อนอื่นๆด้วย    แต่เป็นพันธุ์ไม้ที่ค่อนข้างหายากและโตช้า   จึงทำให้ราคาสูง   คนจังหวัดนราธิวาสเรียกหมากแดงว่า “หมากกาบแดง”   เพราะกาบใบและก้านใบเป็นสีแดง   มีชื่อสามัญว่า “sealing   wax   palm ”   ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   “cyrtostachys   renda ”   หรือชื่อพ้องว่า   ” c.   lakka ”


ต้นหมากแดงขนาดใหญ่ อาจสูงถึง 20 เมตร


ต้นหมากแดงที่ปลูกอยู่ในวงบ่อ

หมากแดงมีใบแบบขนนก   ใบย่อยเรียงเป็นคู่อยู่บนก้านใบ 20-40 คู่   ยาว 30-50 ซม.   ก้านใบยาว 1-1.5 เมตร   กาบใบยาว 40-50   ซม.


ใบหมากแดง

ลำต้นมีสีเขียวคล้ำสูงถึง 20 เมตร   ใหญ่ 1.5-6 นิ้ว   แตกกอเป็นพุ่ม ไม่แยกเป็นต้นตัวผู้ตัวเมีย   ออกดอกเป็นช่อแผ่กระจายที่เรียกว่า   ” ทะลาย ”   ในหนึ่งทะลายมีเมล็ดได้สูงสุดถึง   20,000 เมล็ด   แต่ปกติมี   3,000-8,000   เมล็ด


ช่อดอกที่พึ่งออก 


ช่อดอกที่ดอกบานแล้ว


เมล็ดหมากแดงที่ยังเล็กอยู่จะเป็นสีเขียว


เมล็ดหมากแดงที่ใหญ่ขึ้นมา


เมล็ดหมากแดงเมื่อแก่เต็มทีจะมีสีม่วงดำ ถึงดำ

การขยายพันธ ุ์สามารถทำได้ทั้งการแยกหน่อ และการเพาะเมล็ด   การแยกหน่อทำได้คราวละจำนวนน้อยตามขีดจำกัดของหน่อที่มีอยู่ ใช้เวลานาน   เปอร์เซ็นต์รอดต่ำ และทรงต้นไม่เป็นที่พอใจผู้พบเห็น   การเพาะเมล็ดโดยใช้เมล็ดที่แก่จัดมีสีดำเพาะในวัสดุเพาะที่ประกอบด้วยทราย อย่างเดียว   หรือทรายผสมขุ่ยมะพร้าวที่ร่อนเอาเส้นใยออกแล้ว   ระหว่างการเพาะไม่ควรให้วัสดุเพาะแห้ง(ต้องรดน้ำสม่ำเสมอ)   หากเพาะในตู้อบชื้นได้เป็นดีที่สุด โดยให้แสงรำไร(10-20%)   เมล็ดจะงอกภายใน   2-4 เดือน   ต้นกล้าที่มีใบ 1ใบ เหมาะสำหรับการย้ายปลูกในถุงเพาะชำและยังเหมาะกับการขนย้ายทางไกลเช่น   การส่งทางพัศดุไปรษณีย์   เพราะเมล็ดยังมีอาหารสะสมอยู่   ไม่เสียหายแต่ประการใด


เมล็ดหมากแดงเพาะในแปลงทราย


เมล็ดหมากแดงเริ่มงอกภายใน 2-4 เดือน


กล้าหมากแดงขนาด 2-4 ซม. อายุประมาณ 3-5 เดือน


กล้าหมากแดงอายุ ประมาณ 6-7 เดือน


เมล็ดหมากแดงเพาะในตู้อบชื้น

การปลูก เนื่องจากหมากแดงโตช้ามากใน ช่วงแรก   ( 3ปีได้ความสูงประมาณ 30 ซม.   5ปีได้ 1 เมตร )   ในการเพาะชำกล้าจึงแนะนำให้ใช้ภาชนะปลูกขนาดเล็กก่อน (แต่อย่าเล็กเกินไป   เพราะจะอุ้มน้ำไม่พอ   กล้าจะโตช้า ) แนะนำให้ใช้ถุงดำขนาด   4″x6″ (หรือถุงพับข้าง 2″x6″)ก่อน   หลังจากเลี้ยงไปได้ 12-18 เดือน จะได้ต้นหมากแดงสูง 10-15 ซม. แล้วจึงค่อยเปลี่ยนภาชนะปลูกให้ใหญ่ขึ้น   โดยเปลี่ยนมาใช้ถุงดำขนาด 8″x10″แทน(หรือถุงพับข้าง 4″x10″)


หมากแดงต้นเล็กปลูกเลี้ยงในถุงดำขนาดเล็ก(ถุงพับข้าง 2″X6″)

การดูแลรักษา หมากแดงเป็นพืชที่คลายน้ำมาก จึงต้องการน้ำมากในขณะยังเล็กอยู่ จำนวนรากยังมีน้อยอยู่มักจะดูดน้ำไปเลี้ยงยอดหรือใบไม่ทัน   ทำให้ต้นหมากแดงตายเป็นจำนวนมากในช่วงเวลานี้   ดังนั้นจึงควรให้แสงแต่เพียงเล็กน้อย (แสงรำไร) เพื่อลดการคายน้ำ โดยให้แสงประมาณ 10-20 %(ใช้สแลนหรือพลาสติกกรองแสงสีดำ   80-85 % (no.1210)คลุมโรงเรือน   หรือจะใช้สแลนหรือพลาสติกกรองแสงสีดำ 60%(no.810) 2ชั้นก็ได้   ใช้เวลาในช่วงนี้ประมาณ   12-18 เดือน แล้วจึงเพิ่มแสงมากขึ้นได้โดยเลี้ยงที่แสง 40-50% (ใช้สแลนหรือพลาสติกกรองแสงสีดำ 60%(no.810)เพียงชั้นเดียว)
น้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเลี้ยงหมากแดง จะต้องรดน้ำทุกวันโดยไม่รอให้ดินแห้งก่อน หากดินปลูกแห้งอาจทำให้ต้นหมากแดงขาดน้ำตายได้   ในช่วงที่ทำการย้ายกล้าใหม่ควรรดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง   จนกว่ากล้าหมากแดงตั้งตัวได้ดีแล้ว จึงค่อยลดการรดน้ำเหลือวันละครั้ง


รดน้ำด้วยสายยางประหยัดน้ำแต่ใช้แรงงานมาก 


รดน้ำด้วยสปริงเกอร์ใช้น้ำมากแต่ประหยัดแรงงาน

ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยกับหมากแดงขนาดเล็ก อยู่ในภาชนะขนาดเล็ก ไม่ควรที่จะให้ปุ๋ยเม็ด(ปุ๋ยเคมี) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอกเก่าๆที่แห้งดีแล้วหรือปุ๋ยหมัก ผสมลงไปในดินปลูกเลยในช่วงการเตรียมดิน โดยใช้ไม่เกิน 10%    หลังจากปลูกกล้าหมากแดงแล้ว ให้ใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 ละลายน้ำขนาดความเข้มข้น 60-100 กรัม(4-6 ช้อนโต๊ะ)   ต่อน้ำ 20 ลิตร รดให้ทุก 7-10 วัน จะทำให้ต้นหมากแดงเจริญเติบโตได้ดีขึ้น


กองปุ๋ยคอก(มูลไก่แห้งป่น) ในถัง200ลิตรเป็นถังปุ๋ยปลากับถังอีเอ็ม

โรค โรคที่พบบ่อยสำหรับต้นกล้าหมากแดง หรือหมากแดงที่มีขนาดเล็กอยู่ คือโรคใบจุด   ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลบริเวณใบและกาบใบ จุดนี้จะขยายใหญ่ขึ้นจนอาจทำให้ต้นตายได้   หากตรวจพบให้ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันเชื้อราทุก 5-7 วัน ในระยะเกิดโรค หรือใช้จะใช้หัวเชื่ออีเอ็มผสมน้ำฉีดพ่นแทนก็ได้
แมลง แมลงศัตรูที่พบบ่อย   มีพวกหนอนผีเสื้อ ด้วง ปลวก และตักแตน   หากตรวจพบมีการระบาด   ควรฉีดพ่นด้วยยาฆ่าแมลงบ้างเพื่อลดการทำลายของศัตรูพวกนี้ให้น้อยลง

79 thoughts on “หมากแดง”

  1. กิตติ

    เมล็ดหมากแดง4โล
    สันติ จิตวิโส
    45 ม.6 ต.หนองไม้ซุง
    อ.อุทัย
    จ.พระนครศรีอยุธยา
    13210
    โทร 086 0268 265

  2. คนรักหมากแดง

    ขอบคุณคุณกิตติด้วยค่ะ

  3. กิตติ

    ตอบคุณโกวิทย์ ท่านเข้าใจถูกต้องแล้วครับ แนะนำหย่าให้ทรายแห้งด้วยนะครับ ควรรดน้ำบ่อยๆ หรือเพาะในตู้อบ ใว้ในที่รำไร

    ขอบคุณครับ

  4. โกวิทย์

    การเพาะกับทรายนั้นเมล็ดเพาะควรอยู่ลักษณะไหนกันครับ ต้องกลบนิดหน่อยเปล่าครับ

  5. กิตติ

    ตอบคุณแดนเชียงราย การนนำตันไม้ไปใว้ในห้องที่มีอุณภูมิที่เย็นหรือห้องแอร์ จะทำให้ปลายใบแห้งครับ เพราะว่าในห้องแอร์อากาศจะแห้ง ทำให้ต้นไม้ในห้องคายน้ำมาก ต้นไม้ดูดน้ำไปเลี้ยงใบไม่ทัน จึงทำให้ปลายใบไหม้ แนวทางการนำต้นไม้ไปใว้ในห้องแอร์ ที่เมืองนอกเค๊าใช้แว๊กฉีดพ่นคลือบต้นไม้ โดยเน้นที่ใต้ใบเพราะปากใบที่ใช้คายน้ำอยู่ใต้ใบ ลดการคายน้ำของต้นไม้ ทำให้ต้นไม้อยู่ในห้องแอร์ได้
    ขอบคุณครับ

  6. แดนเชียงราย

    เวลาเรานำต้นหมากแดงออกจากห้องที่มีอุณภูมิที่เย็นเราควรนำไปไว้ที่มีแดดหรือแดดรำไรหล่ะคับ ช่วยตอบผมด้วยคับ

  7. แดนเชียงราย

    อยากทราบว่าเวลาเรานำต้นหมากแดงไปปว้ในห้องที่มีอุณภูมิที่เย็นทำไมปลายใบต้นหมากแดงมันถึงแห้งคับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

กรุณากรอกอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์

Shopping Cart